slidepowerpoint จาก slideshare

vdo เรื่อง..barcode

Hiiiiii,my frands.What’s up? Do you mis…

Hiiiiii,my frands.What’s up? Do you miss me?

บทที่ 4 การทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต

     ในยุคที่ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป นอกจากการสืบเสาะค้นหาข้อมูลข่าวสาร ติดต่อ   สื่อสาร และกระทั่งการใช้เพื่อความบันเทิงแล้ว ปัจจุบันการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการทางอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกอีกอย่างว่า   การทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต (E-Commerce)

รู้จักบาร์โค้ด

– ช่วยในการนับ Physical Inventory เพราะเนื่องจากในปัจจุบันบริษัทใหญ่ ๆ สามารถทำการนับ Physical Inventory ซึ่งเป็นการนับสินค้าจริงได้เพียงปีละครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งจะต้องใช้เวลาในการเตรียมการก่อนนับถึง 1-2 อาทิตย์และอาจจะต้องใช้เวลาในการนับอีก 2 อาทิตย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่ายุ่งยากและเสียเวลามาก ดังนั้นถ้ามีการนำเอาระบบ Automatic IDเข้ามาใช้โดยเลือกใช้พอร์ตเทเบิลบาร์โค้ด ( Portable Data Terminal รูปที่ 1) ซึ่งเป็นเครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ดแบบมือถือเข้ามาช่วยในการนับ Physical Inventory จะทำให้ช่วยลดเวลาลงถึง 75% ดังนั้นจะทำให้สามารถทำการนับ Physical Inventory ได้ปีละหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งจะทำให้สามารถเช็คการสูญหายของสินค้าได้ตลอด

– ในงานบางอย่างการนับชิ้นหรือปริมาณไม่สามารถที่จะให้ความถูกต้องของสินค้าได้ เช่น ร้านขายเครื่องประดับเพชรซึ่งเป็นสินค้าที่มีราคาสูง และมีหลายราคา ดังนั้นหากพนักงานขายหยิบขาย

สำหรับรหัสบาร์โค้ดที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันจะเป็นรหัส EAN 13 ซึ่งแทนตัวเลข 13 ตัวซึ่งจะแทนความหมายดังนี้

รหัส 3 ตัวแรก ใช้แทนชื่อประเทศผู้ผลิตสินค้านั้น เช่นประเทศไทยใช้รหัส 885

รหัส 4 ตัวถัดมาใช้แทนบริษัทผู้ผลิตสินค้านั้น ๆ

รหัส 5 ตัวถัดมาแทนสินค้า

รหัสสุดท้าย เป็นรหัสสำหรับตรวจสอบความผิดพลาด (Check Digit)

สำหรับในประเทศไทยผู้ที่ต้องการจะใช้รหัสบาร์โค้ด กับสินค้าท่านสามารถติดต่อได้ที่สมาคมแท่งไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทางสมาคมแห่งไทยจะเป็นผู้กำหนดรหัสบาร์โค้ดให้ กับผู้ขอแต่ละรายและรหัสนี้จะเป็นรหัสเฉพาะของผู้ผลิตแต่ละรายในโลกเท่ากัน

 

ไซเบอร์แคช  ระบบการเงินอิเล็กทรอนิกส์

ไซเบอร์แคชก่อตั้งขึ้นในปี 1994 เป็นหนึ่งในหลายๆบริษัทที่ทุ่มเทค้นคิดวิธีการทำให้การพาณิชย์ทางไซเบอร์สเปซมีความปลอดภัย ไซเบอร์แคชยังหวังว่าวิธีการของบริษัทจะเป็นที่ยอมรับให้ใช้เป็นมาตรฐานการทำธุรกรรมในอินเตอร์เน็ต “นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังถือเป็นการท้าทายอย่างยิ่งในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในประชาคมอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีของเราก็รับประกันความปลอดภัยทั้งในการคอนเน็กต์และการสั่งจ่ายเงิน” โครนออกตัว

ในการทำธุรกรรมผ่านระบบของไซเบอร์แคช รายละเอียดการจ่ายเงินโดยการล็อกรหัสจะถูกส่งจากลูกค้าไปถึงผู้ขายในอินเตอร์เน็ต จากนั้นผู้ขายก็จะจัดการถอดรหัสออร์เดอร์และส่งต่อรหัสการสั่งจ่ายไปยังไซเบอร์แคชโดยที่ไม่มีโอกาสรู้เลยว่าหมายเลขบัตรเครดิตของลูกค้ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของไซเบอร์แคชจัดการถอดรหัสจากอินเตอร์เน็ตและส่งถึงธนาคารที่ผู้ขายเปิดบัญชีไว้ทางสายที่เลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดี และทางแบงก์ก็จะจัดส่งไปยังธนาคารของลูกค้าอีกทอด ธนาคารแห่งนี้จะตอบอนุมัติหรือปฏิเสธไปถึงไซเบอร์แคช และไซเบอร์แคชก็จะทำหน้าที่เป็นพ่อสื่อบอกต่อไปยังผู้ขายอีกครั้งกระบวนการทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียง 15-20 นาทีเท่านั้น

โครนวางหมากทางการตลาดไว้เรียบร้อย เมื่อไม่นานมานี้ เขาเพิ่งทาบทามนายแบงก์ในกรุงเทพฯ ที่ต้องการเจาะตลาดบริการการเงินในสหรัฐฯโดยไม่ต้องหอบข้าวของบินไปเปิดสำนักงานที่นั่นให้ยุ่งยาก

อย่างไรก็ตาม ไซเบอร์แคชยังต้องผจญกับบริษัทบัตรเครดิตที่กำลังสำรวจลู่ทางให้บริการในไซเบอร์สเปซอย่างจริงจัง ทั้งวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนลและคู่กัดมาสเตอร์การ์ดต่างลดทิฐิหันหน้ามาวางระบบ SET ซึ่งย่อมาจาก SECURE ELECTRONIC TRANSACTION ระบบนี้เป็นชุดโปรโตคอลที่รวมรหัสดิจิตอลและลายเซ็นตลอดจนข้อกำหนดในการใช้รหัสลายเซ็นต่างๆสำหรับผู้ออกบัตรเครดิต ลูกค้าและคนขาย ปัจจุบันมีการนำระบบ SET มาทดสอบกันแล้วในไต้หวัน ญี่ปุ่นและสิงคโปร์

แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะยอมรับระบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จะเสียผลประโยชน์หาก E-TRADE รุ่ง “ไม่มีอะไรปลอดภัยในเว็บ แค่ 500 เหรียญคุณก็สามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์จากอินเตอร์เน็ตที่สามารถเจาะฐานข้อมูลของใครต่อใครก็ได้” บ็อบ คาร์ลสันผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของฮ่องกง แอนด์เซี่ยงไฮ้ แบงกิ้ง คอร์ป แสดงทัศนะ

กว่าที่ระบบรักษาความปลอดภัยในอินเตอร์เน็ตจะคลอดออกมา ผู้บริโภคในไซเบอร์สเปซอาจจะรู้สึกสะดวกใจมากขึ้นแล้วกับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะมาแทนเงินสดซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงไปในตัวหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ว่าก็คือ บัตรอัจฉริยะของมอนเด็กซ์ที่สามารถใช้แทนเงินโดยรูดกับเครื่องสแกนเนอร์หรือแม้แต่กับร้านค้าในไซเบอร์สเปซก็ตาม เพราะแม้พวกแฮกเกอร์จะสามารถใช้วิชามารขโมยเงินสดที่โหลดอยู่ในบัตรเครดิตไปได้ แต่ก็ไม่อาจเข้าไปปล้นเงินในบัญชีได้ และการทำธุรกรรมก็ไม่ต้องส่งข้อมูลผ่านมือใครต่อใครมากมายอีกด้วย

ฟังดูดีทีเดียว แต่คาร์ลสันก็ยังไม่เห็นด้วยเหมือนเคยเขาอ้างว่าขณะที่คนเป็นล้านใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อส่งอีเมลล์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอินเตอร์เน็ตปลอดภัยพอที่จะใช้เป็นช่องทางในการซื้อขาย เขายังว่าคนส่วนใหญ่ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปีซึ่งไม่ใช่กลุ่มคนที่นิยมการชอปปิ้ง “ถ้า E-TRADE เกิดจริงผมว่ามันอาจจะเป็นแค่ปรากฎการณ์เท่านั้น”

มิตซูโอะ ยามากูชิ หัวหน้าฝ่ายค้นคว้าวิจัยของสถาบันวิจัยฮิตาชิเห็นดัวยกับคาร์ลสันเขาเห็นว่าไม่ว่าเงินสดอิเล็กทรอนิกส์จะดีเลิศประเสริฐศรีเพียงใด แต่ถ้าไม่สามารถทำให้ผู้บริโภคและผู้ขายรู้สึกสะดวกสบายได้ ก็ไม่มีทางได้เกิดแน่นอน

Hello world!

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!